Contact us
 


                       

css buttons by Css3Menu.com

           
Pause Play
 

การจัดการด้านอชีวะอนามัยและความปลอดภัย

 
 


      ความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญเพราะเป็นหัวใจหลักในการดำเนิน
โครงการ ซึ่งการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนั้น จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิตและ
ทรัพย์สิน รวมถึงการดำเนินกิจการโครงการให้มีประสิทธิภาพและมีสุขอนามัยที่ดี และประการสำคัญคือ ช่วยลดอัตรา
การเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานภายในโครงการ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ดังนี้

 
 


1. ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมและจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานในโครงการ เพื่อให้มีทัศนคติที่ดีและพฤติกรรมที่ถูกต้องในด้าน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานโดยจัดฝึกอบรมเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. ความปลอดภัยต่อพนักงาน ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2513) และฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2516 ว่าด้วยการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยต่อบุคคล
ภายนอกโดยเคร่งครัด

3 .ก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง หัวหน้างานต้องประชุมพนักงานหรือคนงานทุกครั้ง  เพื่อให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง และป้องกันหรือลดอุบัติเหตุ
โดยเฉพาะคนงานใหม่หรือกลุ่มเสี่ยง

4. ให้จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานหรือกรณีอื่นๆ โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดให้มีการฝึกซ้อมและอบรมเป็นระยะๆ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5. ให้ฝึกอบรมพนักงานหรือคนงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องกลหรือเครื่องมือแต่ละประเภทในหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน

6.ให้วิเคราะห์ลักษณะการปฏิบัติงานและความเสี่ยง เพื่อกำหนดประเภทอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เหมาะสม ติดตั้งป้ายเตือน
หรือสัญลักษณ์ประเภทอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องสวมใส่ในแต่ละบริเวณ เพื่อให้พนักงานและผู้ที่จะเข้าไปในบริเวณ
ดังกล่าวได้ทราบชัดเจน

7.ให้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับพนักงานอย่างเหมาะสมตามลักษณะงาน โดยมีจำนวนเพียงพอ รวมทั้งการดูแล
ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและจัดเตรียมอุปกรณ์สำรองไว้อย่างเพียงพอเสมอ และกำกับดูแลให้พนักงานสวมใส่
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด

8.กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ หัวหน้างาน/หัวหน้ากะ ทำหน้าที่ตรวจสอบ
ความปลอดภัยในพื้นที่รับผิดชอบทุกวัน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ ทำหน้าที่ ตรวจสอบทุกสัปดาห์

9.ให้จัดทำคู่มือ/ขั้นตอน/วิธีการ การบำรุงรักษา การดูแลอุปกรณ์ และเครื่องจักรต่างๆ ที่ใช้ในโครงการให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
มีความปลอดภัย และได้รับการรับรอง โดยวิศวกรเครื่องกล และ/หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ

10. ให้ความรู้แก่คนงานและพนักงานเรื่องสุขอนามัยและการป้องกันโรคติดต่อ

11. จัดสร้างห้องส้วมที่ถูกหลักสุขาภิบาลให้เพียงพอกับจำนวนพนักงานหรือคนงาน

12.ให้จัดเตรียมน้ำดื่มและน้ำใช้อย่างเพียงพอ ให้มีการจัดเก็บอย่างถูกต้องและถูกสุขลักษณะอย่างเคร่งครัด

13.ให้บันทึกอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน โดยให้ระบุถึงสาเหตุ และวิธีการแก้ไขอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ