Contact us
 


                       

css buttons by Css3Menu.com

           
Pause Play
 

วิธีการดำเนินโครงการ

 
 

        

การทำเหมืองรูปแบบต่างๆ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิ แรงงาน อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่
สิ่งสำคัญในการเลือกวิธีการ ทำเหมืองที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของชั้นแร่ อีกทั้งยังควรคำนึงถึงสถาวะของ
ชั้นหินที่อยู่ด้านบน ความแข็งแรงของชั้นแร่และกำแพงหินที่อยู่รอบๆ น้ำใต้ดิน คุณภาพของแร่ และปัจจัยอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย

วิธีการทำเหมือง
เหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี เป็นเหมืองแร่ใต้ดินที่ใช้วิธีการทำเหมืองแบบช่องทางสลับค้ำยัน (Room and Pillar)
โดยใช้วิธีเข้าสู่เหมืองใต้ดินแบบอุโมงค์เอียง (Decline) เพื่อขุดแร่โพแทช (ซิลวิไนท์) ที่ระดับความลึก 300 - 380 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบเหมืองด้านธรณีเทคนิค 3 ประการ คือ


       
  1.การออกแบบให้ช่องว่างใต้ดินต่างๆ (Mine Opening) มีเสถียรภาพแข็งแรงเพียงพอ เพื่เพื่อการทำเหมืองใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
         2.การควบคุมการทรุดตัวของผิวดินให้อยู่ในระดับไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ต่างๆ บนผิวดิน
         3.การป้องกันไม่ให้น้ำใต้ดินรั่วไหลเข้าสู่ในเหมืองใต้ดิน

 
 


วิธีทำเหมืองแบบช่องทางสลับค้ำยันเหมาะสมกับแหล่งแร่ที่มีลักษะณะแบนราบ ชั้นแร่ไม่หนามาก ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการทำเหมืองที่มีสภาพทางธรณี
วิทยาเป็นหินตะกอน อาทิ เหมืองถ่านหิน และเหมืองแร่โพแทซ เหมืองจะได้รับการออกแบบให้มีส่วนที่เป็นช่องว่าง ซึ่งเกิดจากการขุดแร่และมีส่วน
ของแท่งแร่ที่เหลือไว้เป็นเสาเพื่อช่วยค้ำยันเพดานเหมือง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงของเหมือง การกำหนดขนาดของช่องว่างและเสาค้ำ
ยันขึ้นอยู่กับความแข็งและความหนาของชั้นแร่ ประเภทของชั้นหินที่เป็นพื้นเหมืองและเพดานเหมือง รวมทั้งความหนาและคุณสมบัติของหินที่อยู่
เหนือชั้นแร่ และได้มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณโดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเหมืองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
โดยพบว่าการทำเหมืองแบบช่องทางสลับค้ำยันนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเหมืองแร่โพแทซที่พบใน Saskatchewan แคนาดา
และเหมืองโพแทซในแถบ Weera ประเทศเยอรมัน มีการทำเหมืองแบบช่องทางสลับค้ำยันเช่นกัน


 
 
 
 


การพัฒนาและเตรียมการสำหรับการทำเหมืองใต้ดินแบบห้องสลับเสาค้ำยัน

การเตรียมการสำหรับการทำเหมืองแบบห้องสลับเสาค้ำยัน จะเริ่มจากการทำเส้นทางเข้าสู่เหมืองใต้ดิน (Mine Access) แบบอุโมงค์เอียง (Decline) เนื่องจากสามารถออกแบบให้สอดคล้องกับกิจกรรมบนผิวดินได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างผิวดินกับชั้นแร่แล้วจึงเริ่ม
พัฒนาเส้นทางขนส่งในเหมืองใต้ดิน ซึ่งออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งในชั้นแร่เพื่อให้สามารถผลิตแร่ได้ด้วยในขณะที่พัฒนาเส้นทางลำเลียงแร่

 
 


ข้อดีของวิธีการทำเหมืองแบบช่องทางสลับค้ำยัน
มีดังนี้
1.ง่ายและมีความคล่องตัว
2.สามารถใช้แท่งแร่ค้ำยันได้หลายขนาด
3.ทำให้สามารถขุดแร่ได้อย่างปลอดภัย
4.สามารถขุดแร่รอบๆ แผงแร่ส่วนที่ทิ้งไว้รอบหลุมเจาะสำรวจ และปรับให้เข้ากับสภาพทางธรณีวิทยาที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
5.สามารถเปลี่ยนระบบการค้ำยันให้เหมาะสมกับสภาพต่างๆ ได้

 
 


กระบวนการแต่งแร่

แร่โพแทชที่นำขึ้นมาจากเหมืองจะถูกส่งเข้าโรงแยกแร่และเข้าสู่กระบวนการแต่งแร่ เพื่อแยกเอาโพแทชส่วนที่สามารถนำไปขายได้ออกจากเกลือ และดินในก้อนแร่ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “กระบวนการลอยแร่” อนุภาคโพแทชขนาดเล็กที่แยกออกมาได้จากกระบวนการ “ลอยแร่” นั้น จะถูกนำ
ไปทำให้แห้งและคัดขนาดผลิตภัณฑ์ให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับการนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยและผลิตภัณฑ์อื่นๆส่วนอนุภาคโพแทชขนาดเล็ก
จากเครื่องดักฝุ่นจะถูกนำไปผ่านเข้าสู่กระบวนการผลึกออกมาเป็นผลิตภัณฑ์โพแทช

การจัดการหางแร่
“หางแร่” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการแยกแร่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “เกลือแกง” หางแร่เหล่านี้จะนำ
มากองเก็บไว้บนกองหางแร่ซึ่งปูพื้นด้วยแผ่นวัสดุกันซึม HDPE ก่อนที่จะนำไปถมกลับในช่องว่างเหมืองใต้ดินเพื่อลดผลกระทบด้านการทรุดตัวของ
ผิวดิน การถมกลับหางแร่จะเริ่มในปีที่ 6 ของการดำเนินการ เนื่องจากในช่วง 5 ปีแรก เป็นช่วงที่รอให้เหมืองมีพื้นที่เพียงพอสำหรับนำหางแร่เข้าไป
ถมกลับ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการทำเหมืองแล้ว จะสามารถนำหางแร่ถมกลับลงเหมืองใต้ดินได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีหางแร่เหลืออยู่บนพื้นดิน

การจัดการน้ำเกลือ
การผลิตแร่โพแทชจะมีน้ำเกลือเกิดขึ้นจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1.กระบวนการแต่งแร่
2.น้ำฝนที่ตกลงบนกองหางแร่

 
 

น้ำเกลือเหล่านี้จะเก็บกักไว้ในบ่อเก็บน้ำเกลือก่อนที่จะนำไปผ่านเครื่องทำระเหยเพื่อให้ได้น้ำสะอาดสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการแยกแร่
ต่อไป ปูพื้นบ่อด้วยวัสดุกันซึมHDPE จำนวน 2 ชั้น โดยชั้นแรกหนา 2 มิลลิเมตร และชั้นที่ 2 หนา 1.5 มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังมีระบบท่อรวบรวม
น้ำใต้ดินฝังอยู่เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ และรวบรวมน้ำเกลือหากเกิดการรั่วซึม

 
 

การขนส่ง
การขนส่งผลิตภัณฑ์โพแทช จะถูกลำเลียงโดยใช้เส้นทางรถไฟที่มีอยู่แล้วไปยังท่าเรือมาบตาพุดเพื่อส่งไปขายยังต่างประเทศ สส่วนโพแทชที่จะขาย
ภายในประเทศนั้นจะถูกขนส่งโดยรถบรรทุก เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าภายในประเทศ อาทิ โรงงานผลิตปุ๋ยภายในประเทศ