Contact us
 


                       

css buttons by Css3Menu.com

           
Pause Play
 

ผู้บริหาร วิศวกร และเจ้าหน้าที่ บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหมืองโปแตซของประเทศไทย

 
 

ผู้บริหาร วิศวกร และเจ้าหน้าที่ บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหมืองโปแตซ
ของประเทศไทย (Workshop on Potash Technology Application of Thailand) ซึ่งภาควิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยการจัดประชุมครั้งนี้ภายใต้ความร่วมมือของหลายหน่วยงาน อาทิ สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านวิศวกรรม
เหมืองแร่จากประเทศเยอรมนี 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ TU Freiberg University, RWTH Aachen University และ TH Georg Agricola ZU Bochum University และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อเป็นการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาเหมืองแร่โปแตซ
เพื่อความยั่งยืนต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมจากประเทศเยอรมนีสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตซในประเทศไทย

ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ประกอบด้วยทรัพยากรแร่โปแตซที่มีศักยภาพอันดับต้นๆของโลก ปัจจุบันได้มีความพยายามพัฒนาเหมืองแร่โปแตซ
ขนาดใหญ่อยู่ 2 โครงการในประเทศคือ โครงการเหมืองแร่โปแตซอุดรใต้ จังหวัดอุดรธานี โดยบริษัท APPC โครงการเหมืองแร่โปแตซอาเซียนจังหวัดชัยภูมิ
โดยบริษัท APOT โดยรวมทั้งสองโครงการสามารถผลิตปุ๋ยโปแตซ (MOP) ได้ 3.1 ล้านตันต่อปี ซึ่งปุ๋ยโปแตซที่ผลิตได้สามารถทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
และยังสามารถจำหน่ายให้กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเอเชียได้อีกด้วย

จากประสบการณ์การออกแบบและการพัฒนาเหมืองแร่โปแตซในเยอรมนีมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการทำเหมืองแร่โปแตซ
ที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ วิธีการทำเหมืองแบบละลาย การทำเหมืองแบบช่องทางสลับเสาค้ำยันตลอดจนเทคโนโลยีการถมกลับ ซึ่งสามารถ
ป้องการทรุดตัวของพื้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ คุณภาพดิน คุณภาพน้ำใต้ดินรวมถึงคุณภาพ
น้ำผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการเหมืองแร่โปแตซเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำ อาทิ อุตสาหกรรมปุ๋ยเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมเคมีพื้นฐาน
นอกเหนือจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรธรณีอย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นประโยชน์และเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้
ปฏิบัติการ และการวิจัย ไม่ว่าในด้านเทคนิค สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ   ที่เกี่ยวข้อง

ในภาพรวมอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตซในประเทศจะส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการเรียนรู้ และการวิจัย ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยเฉพาะ
จะเป็นแหล่งที่สามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรณีที่มีคุณภาพ เป็นต้นแบบที่ดีของการโครงการเหมืองแร่โปแตซต่อไปในอนาคต